วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ที่มาของหลักกิโลเมตร

หลักกิโลเมตรคือที่เราเห็นตามข้างถนน เป็นปูนสีขาว มีชื่อจังหวัดและระยะทาง มีไว้เพื่อบอกระยะทางจาก
สถานที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
หลักกิโลเมตรในเมืองไทยน่าจะกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับการกำเนิดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน
เมื่อ พ.ศ. 2481 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยกำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมทางหลวง
ประโยชน์ของหลักกิโลเมตรนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ถนนทั่วไป และอีกส่วนหนึ่งคือ
เป็นประโยชน์ต่อกรมทางหลวง โดยจะเป็นตัวกำหนดค่าบำรุงรักษาเส้นทางโดยยึดรหัสที่ปรากฎบนหลักกิโล
ว่าสัมพันธักับรหัสของแขวงจังหวัดใด จังหวัดนั้นก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และยังเป็นประโยชน์ในการเวนคืนที่ดิน
อีกด้วย ซึ่งหลักฐานของโฉนดที่ดินจะต้องมีความสัมพันธ์กับหลักฐานในแขวงจังหวัดโดยยึดหลักกิโลเมตรเป็น
สำคัญ
หลักกิโลเมตร 1 หลักจะประกอบไปด้วยตัวเลขบอกระยะทาง 3 ด้าน คือด้านหน้า ด้านซ้าย ด้านขวา ในส่วน
ของด้านหน้านั้นจะมีสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบปรากฎอยู่ด้วย ถ้าเป็นของกรมทางหลวงจะใช้
สัญลักษณ์ตราครุฑ พบได้ตามเส้นทางที่เชื่อมระหว่างภูมิภาค จังหวัด และอำเภอสำคัญๆ ของประเทศ
และถ้าเป็นเส้นทางในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการจะปรากฎเป็นรูปเทวดา 3 องค์ ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่
แยกจากทางหลวงแผ่นดินไปตามหมู่บ้าน ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
หลักกิโลเมตรแต่ละหลักมีต้นทุนในการก่อสร้างประมาณ 1,500-1,600 บาท แต่ทั้งนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับการขนส่ง
วัสดุ หิน ปูน ทราย ว่าระยะทางขนส่งใกล้-ไกลแค่ไหนและจะวางไว้ทุกๆ 1 กิโลเมตรตลอดเส้นทาง
ที่มา: หนังสือ Advance Thailand Geographic

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น