วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หายใจด้วยของเหลว

ที่โรงพยาบาล Saint Christopher เมือง Philadelpaia ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2532 ทารกเพศหญิงคนหนึ่งซึ่งคลอดก่อนกำหนด 3 เดือน ได้ต่อสู้กับ
ความตาย ออกซิเจนได้ทำลายเนื้อเยื่อในปอดของเธอ คณะแพทย์ได้ลงความเห็น
ว่าเธอจะต้องตายในอีกไม่กี่นาที
บิดามารดาของเธอจึงตัดสินใจเซ็นสัญญาอนุญาตให้หมอต่อท่อพลาสติกผ่าน
ของเหลวชนิดหนึ่งชื่อ Perfluorocarbon เข้าท่วมปอดของเธอ ่ของเหลวชนิดนี้
เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายว่าเป็นสารหล่อลื่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ มีคุณสมบัติที่
สามารถนำออกซิเจนไปได้ในปริมาณที่มากกว่าอากาศธรรมดา
ภายในเวลาไม่กี่นาทีอาการของทารกก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เธอก็ต้องตายใน
อีก 9 ชั่วโมงต่อมา
ในอดีต L.C. Clark นักเคมีชาวสหรัฐฯ ได้พบว่าของเหลว Perfluorocarbon ซึ่ง
อุดมไปด้วยธาตุ Fluorine สามารถนำออกซิเจนได้ดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะกับ
ปอดที่พิการกว่าปอดที่สมบูรณ์ เพราะมันสามารถไหลซึมเข้าไปในส่วนต่างๆ ของ
ปอดได้ง่ายดาย แต่หากมีการสูบอัดออกซิเจนเพียวๆ เข้าสู่ปอดที่พิการ ออกซิเจน
จะทำให้ถุงอากาศและเนื้อเยื่อในปอดพัง
ในอนาคตของเหลว Perfluorocarbon นี้อาจนำมาใช้กับปอดผู้ใหญ่ที่พิการ หรือ
ใช้รักษาคนที่สูดควันไฟหรือควันพิษเข้าปอดมากไป เพราะ Perfluorocarbon นี้
จะไหลเข้าไปชะล้างทำความสะอาดปอด เท่ากับเป็นการยกเครื่องใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น