วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ว่ากันด้วยเรื่องของ แคลเซี่ยม



แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ในผู้ที่สูงอายุหรือผู้หญิงที่หมดประจำเดือนจะเกิดการสลายกระดูกเร็วกว่าปกติ เกิดภาวะกระดูกพรุน หรือ osteroporosis ได้ง่าย อันเป็นสาเหตุของ กระดูกหักที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ได้รับการกระทบกระแทก หรือหกล้ม เช่น กระดูกสะโพกหัก, กระดูกบริเวณข้อมือ, หรือกระดูกสันหลัง ทำให้หลังโกง เป็นต้น ตามความเป็นจริงแล้ว การป้องกันหรือรักษาภาวะกระดูกพรุน โดยเฉพาะ สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ดีที่สุด ได้แก่ การให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งนอกจากจะช่วยเรื่องกระดูกได้ดีกว่ายาอื่นแล้ว ยังลดไขมัน และเชื่อว่าป้องกัน โรคความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) ได้ด้วย

(จากการสังเกตว่าผู้ป่วยชนิดนี้เป็นผู้ชายเสียส่วนใหญ่) แต่ข้อเสียคือ จะทำให้มีประจำเดือนอีกและควรระวังใน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งเต้านม

การให้แคลเซียมทดแทน ก็อาจช่วยได้บ้าง แต่วิธีที่จะให้แคลเซียมเสริมที่ดีที่สุด คือควรเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งทำให้ร่างกายมีเนื้อกระดูกมาก ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อกระดูกผุในวัยชราน้อยลง

การให้แคลเซียมหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีประโยชน์บ้างเหมือนกัน แต่ไม่มากเท่ากับในช่วงอายุที่ว่า สำหรับผู้ชาย การเกิดโรคจากกระดูกพรุน พบได้น้อยกว่า เนื่องจากเนื้อกระดูกมีมากกว่าแต่อาจเกิดได้เมื่ออายุมากเหมือนกัน ดังนั้นควรป้องกันโดยเสริมแคลเซียมตั้งแต่ เนิ่น ๆ ครับ

อาหารที่แคลเซียมสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์, ปลาเล็กที่กินได้ทั้งตัว, นม หรือใครจะซื้อแคลเซียมกินก็ได้ มีขายอยู่มากมาย นอกจากนี้ต้องออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก เช่นเดิน , วิ่ง จะดีกว่าว่ายน้ำ เพราะช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกได้ดีกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น