วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แบตเตอรี่ไวรัส

อีกไม่นาน Laptop, iPod หรือ โทรศัพท์มือถือ ทำงานได้ด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ไวรัส! นักวิจัยได้ค้นพบวิธีตัดต่อพันธุกรรมให้เจ้าเชื้อโรคตัวร้ายทำงานได้เหมือนกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้


งานวิจัยชิ้นนี้ถูกนำออกเสนอทางอินเตอร์เนตในเว็ป Science ครั้งแรกในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา



ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ ทางทีมวิจัยได้ตัดต่อพันธุกรรมให้ไวรัสทำหน้าที่เป็น electrode ด้านลบหรือ anode ได้สำเร็จ ในงานวิจัยชิ้นนี้ พวกเขาทำให้ไวรัสทำหน้าที่เป็น electrode ด้านบวกหรือ cathode ซึ่งเมื่อนำเอาไวรัสสองชนิดนี้มาใช้งานรวมกัน เราก็จะได้แบตเตอรี่จากไวรัส ซึ่งนอกจากจะทำงานได้มีประสิทธิภาพดีกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย



“เพราะว่าไวรัสนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต เราจึงใช้เพียงสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ไม่มีการใช้แรงดันหรืออุณหภูมิสูงในการผลิตและใช้งาน” Angela Belcher นักวิจัยวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัย MIT เคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ตัวแทนทีมวิจัย กล่าว



แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นจะเก็บและปล่อยพลังงานไฟฟ้าเมื่อไอออนของลิเทียมและอิเล็คตรอนเคลื่อนที่ระหว่าง electrode ขั้วลบกับขั้วบวก โดยทั่วไปแล้ว electrode ขั้วบวกนั้นจะทำจาก เหล็กฟอสเฟต ซึ่งมีความเสถียรสูง แต่นำไฟฟ้าได้ไม่ดีนัก เมื่อเหล็กฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับลิเทียม มันจะสามารถเก็บสะสมพลังงานไว้ได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อมีการเคลื่อนที่ของไอออนและอิเล็คตรอนผ่านขั้วบวก การเคลื่อนที่จึงเป็นไปได้ช้า ทำให้ประสิทธิภาพในการปล่อยพลังงานลดน้อยลง



ไอออนและอิเล็คตรอนจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านอณุภาคขนาดเล็ก การทำให้เหล็กฟอสเฟตอยู่ในรูปอณุภาคมีขนาดเล็กเพิ่อเพิ่มประสิทธิภาพนั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยากและมีราคาสูง ดังนั้น ทีมของ Belcher จึ้งตัดต่อพันธุกรรมของไวรัส M13 ให้ปกคลุมตัวเองด้วยเหล็กฟอสเฟต เพียงเท่านี้เราก็จะได้เหล็กฟอสเฟตขนาดจิ๋วจากไวรัส


ตัดต่อยีนที่สองอีกเสียหน่อยก็จะทำให้ด้านหนึ่งที่เหลือของไวรัสติดเข้ากับท่อนาโนคาร์บอนซึ่งนำไฟฟ้าได้ดี เท่านี้เราก็จะได้อณุภาคเหล็กฟอสเฟตที่เก็บสะสมพลังงานได้ดี แถมยังให้ไอออนกับอิเล็คตรอนเคลื่อนที่ได้ดีอีกด้วย


“งานวิจัยครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นมาก” นักเคมีแบตเตอรี่ Kang Xu จากห้องแล็ปของกองทัพสหรัฐฯในAdelphi กล่าว “Belcher นับเป็นนักวิจัยคนแรกที่ใช้ต้นแบบทางชีววิทยาในการตัดต่อวัสดุเข้าด้วยกัน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น