วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หอไอเฟล








หอไอเฟล(Eiffel) สัญลักษณ์ของนครปารีสสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1887-9 ออกแบบโดยวิศวกรที่มีชี่อเสียงของฝรั่งเศสชื่อ กุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงสินค้าโลกในปี 1889(พ.ศ. 2413) ฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารย์ในทางลบว่าทำลายความงดงามของปารีสด้วยโครงเหล็กน่าเกลียด อยู่ๆก็มีโครงเหล็กสูงโด่งมาขวาตาพวกเขา เพราะมันทำขึ้นด้วยโลหะ 15,000 ชิ้น หนักถึง 7,000 ตัน ยึดต่อโดยน๊อต 3,500,000 ตัว สีทาทั้งหมด 35ตัน สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 7,997,401 ฟรังค์ สูง 1,050 ฟุต เสียเวลาก่อสร้าง 1 ปี


• มีลิฟต์พาชมวิวได้สูงถึงยอดหอซึ่งมีร้านอาหารที่สามารถใช้นั่งชมวิวได้ทั่วทั้งกรุงปารีส และชมความงดงามของแม่น้ำเซนด้วย สุดท้ายหอไอเฟลกลับเป็นสถานที่ยอดนิยม ใครต่อใครที่มาปารีสต้องถ่ายรูปด้วยตามธรรมเนียม หอนี้เคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในโลกยุคสมัยแรก จนกระทั่งตึกเอ็มไพน์สเตทสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1931
• ในวันอากาศดีอาจขึ้นไปชมวิวได้ถึงชั้นสูงสุดที่ 899 ฟุต ยามค่ำคืน หอไอเฟล จะเปิดไฟสวยงามมากและมุมที่ที่ดีที่สุดจะถ่ายภาพหอไอเฟล คือบริเวร Trocadero มีทั้งร้านขายของที่ระลึกและภัตตาคาร เปิดทุกวันเวลา 09.00 - 23.00 น. ค่าขึ้นลิฟต์ชม ชั้นที่ 1 (20 ฟรังค์) ชั้นที่ 2 (42 ฟรังค์) ชั้นที่ 3 (59 ฟรังค์)

• เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งจะมีการขูดสนิมเหล็กออก สภาพจึงดูดีขึ้นมาก หอแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่องาน ยูนิเวอร์แซล เอ็กซิบีชั่น 1889 โดยเฉพาะ ตัวหอสูง 300 เมตร (985 ฟุต) ออกแบบโดย กุสตาฟ ไอเฟล แม้จะถูกพวกปัญญาชนและนักศิลปะทั้งหลายวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสียหาย แต่กลับเป็นที่ชื่อชมของชาวบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกุสตาฟ ไอเฟล นำธงชาติฝรั่งเศสขึ้นไปประดับไว้บนยอดหอ จึงมีผู้คนออกมาโห่ร้องให้กำลังใจกันอย่างอุ่นหนา ฝาคั่ง หลังจากผ่านการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ กันมานานปี สุดท้ายทางการสื่อสารมวลชนของฝรั่งเศสก็ได้ตัดสินใจดูแลรักษาหอไอเฟลเอาไว้ใช้เป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณ และยังใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

• ในหอนี้มีร้านอาหารแต่ราคาแพงมาก การขึ้นไปนั้น จะเดินขึ้นหรือใช้ลิฟต์แทนก็ได้ ชั้นที่ 1 เป็นพิพิธภัณฑ์จัดฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับหอไอเฟล วิวที่นี่วิเศษมากไม่ว่าจะยืนมองลอดไปทางใต้โครงเหล็กอันสูงชะลูดขึ้นไปหรือก้มหน้าลงมาชมเมืองปารีสจากบนตัวหอก็ตามวิวจะสวยช่วงหนึ่งคือช่วงหนึ่งชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น