ลูกสาวผมเรียนชั้น ม.4 อยู่ที่โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ย่านประชานิเวศน์ 2 หรือ 3 นี่แหละ ที่ต้องอ้างชื่อโรงเรียนเพราะข้อเขียนเที่ยวนี้อาศัยข้อมูลที่เธอจัดทำเป็นรายงานส่งอาจารย์ในวิชาเรียนวิชาหนึ่ง ผมเห็นว่าน่าสนใจขอมาใช้บ้าง เธอก็บอกว่าต้องให้เครดิตไว้ด้วย ก็ให้ไว้เลยตรงนี้ รายงานชิ้นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาวิบัติครับ กำหนดขอบเขตเฉพาะภาษาแชต, ภาษาเอ็มเอสเอ็น หรือภาษาออนไลน์ แล้วแต่ใครจะเรียก เป็นวิธีการเขียนภาษาไทยที่เพี้ยนไปจากภาษาเขียนโดยปกติ เพี้ยนไปจากภาษาพูดทั่วไปด้วย ขอยกตัวอย่างที่เอาจากเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งที่เด็กๆ ไปชุมนุมกัน เจ้าของกระทู้ตั้งกระทู้รณรงค์เลิกการใช้ภาษาวิบัติ มีหนึ่งในคำตอบที่สนับสนุน แต่เล่นสนุกโดยเขียนให้มันวิบัติว่า "เหนด้วยมั่กๆ เรยคร่า พาสาวิบัดพวกเน้ เหนทีรายก้องุงิ อ่านม่ะรุเรื่อง ม่ายรุชั้ยกานปัยดั้ยงัย พอๆ...ครั้งแรกในชีวิตที่พิมพ์แบบนี้ รู้สึกตัวเองปัญญาอ่อนยังไงพิกล"ครับ ภาษาแชตหรือภาษาออนไลน์ที่ระบาดไปในกลุ่มวัยรุ่นออนไลน์ รวมทั้งไว้ที่เกินวัย เช่น พวกที่จบปริญญาตรีทำงานแล้วก็ยังเห็นมีใช้กันอยู่บนอินเตอร์เน็ต เป็นภาษาแบบที่ยกตัวอย่าง ตามเว็บบอร์ด ตามบล็อคจำนวนหนึ่ง และโปรแกรมสนทนา หรือห้องสนทนา ระยะหลังๆ มันถูกเรียกว่าเป็นภาษาวิบัติในหมู่คนรุ่นใหม่ด้วยกันเอง และรวมไปถึงถูกเรียกว่า "ภาษาปัญญาอ่อน" ด้วย อันนี้เด็กๆ เขาเรียกกันเองนะครับ ซึ่งมีนัยแตกต่างกันค่อนข้างมากจากสมัยแรกๆ ที่ภาษาแบบนี้ถูกผู้ใหญ่ออกมาว่ากล่าว ลูกสาวผมใช้วิธีถามแบบสอบถามขึ้นบนอินเตอร์เน็ต ผ่านทางเว็บบอร์ดสองแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นอีกเช่นกัน ผลที่ได้มาจากแบบสอบถามก็ค่อนข้างน่าสนใจเหมือนกัน โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นกำหนดระดับอายุเอาไว้ไม่เกิน 21 ปี ได้รับคำตอบมาทั้งหมด 40 คน มีอายุต่ำกว่า 12 ปีอยู่คนเดียว 12-14 ปี 6 คนที่มากที่สุดคือกลุ่ม 18-20 ปี 13 คน รองลงมาคือ 15-17 ปี และ 21 ปีขึ้นไป เป็นจำนวนเท่ากันคือ 10 คนขอสรุปรวบยอดนะครับ รูปแบบารสนทนาที่ใช้บ่อยเรียงตามลำดับคือ กระดานข่าว และโปรแกรมสนทนา สุดท้ายคือ เกมออนไลน์ ซึ่งมีไม่มากนัก จำนวนทั้งหมดนี้ ที่ไม่เคยใช้ภาษาวิบัติเลยมีเพียง 4 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คนใช้เป็นประจำกลับยิ่งน้อยกว่าคือมีแค่ 2 คน นอกนั้นหรือคนส่วนใหญ่อีก 34 คน ใช้บ้างเป็นบางครั้งโดยผู้ใช้เป็นบางครั้งส่วนมากจะใช้เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกให้หนักและชัดเจนมากขึ้นในการพิมพ์ เช่น คำว่า "ไม่" ก็จะลากเสียงให้ยาวๆ เป็น "ม่าย" เพื่อแสดงถึงอารมณ์ผิดหวัง หรือใช้เพราะพิมพ์ผิดโดยเข้าใจผิดหรือไม่ได้ตั้งใจ พวกนี้จัดเป็นพวกที่ใช้สำนวนวัยรุ่นได้ว่าใช้นิดหน่อยแบบ "ขำๆ" ไม่ใช่ตะพึดตะพือใช้ไม่เลือกกาละเทศะ น่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีกอยู่ตรงที่ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่บอกว่าเห็นด้วยการรณรงค์ให้เลิกใช้ภาษาวิบัติอย่างจริงจัง และคงต้องเน้นย้ำด้วยครับว่ากระดานข่าวสองแห่งที่ใช้เป็นแหล่งเก็บข้อมูแบบสอบถามนั้น เป็นกระดานข่าวเว็บเด็กๆ ที่สนใจในเรื่องการ์ตูน เกม อะนิเมะ มังกะ ชนิดที่ผู้ใหญ่คงไม่แวะเวียนเข้าไปเกะกะ ยกเว้นผู้ใหญ่อย่างผม ที่จริงมีเว็บไซต์หลายเว็บอยู่เหมือนกันที่ผมเข้าเป็นประจำและสังเกตเห็นการต่อต้านภาษาวิบัติในโลกออนไลน์อย่างชัดเจน ทั้งโดยเว็บมาสเตอร์และสมาชิก ซึ่งไม่ใช่คนแก่งั่กอนุรักษ์ลูกเดียวอะไรเทือกนั้น มันอาจจะสะท้อนปรากฏการณ์อะไรบางอย่างในโลกของภาษาที่มีความผันแปรเปลี่ยนแปลงไปได้ อะไรที่คนไม่ยอมรับก็ไม่สามารถคงทนอยู่ได้ในที่สุด
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
มุมมอง"ภาษาวิบัติ" ของคนรุ่นใหม่ในโลกออนไลน์
ลูกสาวผมเรียนชั้น ม.4 อยู่ที่โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ย่านประชานิเวศน์ 2 หรือ 3 นี่แหละ ที่ต้องอ้างชื่อโรงเรียนเพราะข้อเขียนเที่ยวนี้อาศัยข้อมูลที่เธอจัดทำเป็นรายงานส่งอาจารย์ในวิชาเรียนวิชาหนึ่ง ผมเห็นว่าน่าสนใจขอมาใช้บ้าง เธอก็บอกว่าต้องให้เครดิตไว้ด้วย ก็ให้ไว้เลยตรงนี้ รายงานชิ้นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาวิบัติครับ กำหนดขอบเขตเฉพาะภาษาแชต, ภาษาเอ็มเอสเอ็น หรือภาษาออนไลน์ แล้วแต่ใครจะเรียก เป็นวิธีการเขียนภาษาไทยที่เพี้ยนไปจากภาษาเขียนโดยปกติ เพี้ยนไปจากภาษาพูดทั่วไปด้วย ขอยกตัวอย่างที่เอาจากเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งที่เด็กๆ ไปชุมนุมกัน เจ้าของกระทู้ตั้งกระทู้รณรงค์เลิกการใช้ภาษาวิบัติ มีหนึ่งในคำตอบที่สนับสนุน แต่เล่นสนุกโดยเขียนให้มันวิบัติว่า "เหนด้วยมั่กๆ เรยคร่า พาสาวิบัดพวกเน้ เหนทีรายก้องุงิ อ่านม่ะรุเรื่อง ม่ายรุชั้ยกานปัยดั้ยงัย พอๆ...ครั้งแรกในชีวิตที่พิมพ์แบบนี้ รู้สึกตัวเองปัญญาอ่อนยังไงพิกล"ครับ ภาษาแชตหรือภาษาออนไลน์ที่ระบาดไปในกลุ่มวัยรุ่นออนไลน์ รวมทั้งไว้ที่เกินวัย เช่น พวกที่จบปริญญาตรีทำงานแล้วก็ยังเห็นมีใช้กันอยู่บนอินเตอร์เน็ต เป็นภาษาแบบที่ยกตัวอย่าง ตามเว็บบอร์ด ตามบล็อคจำนวนหนึ่ง และโปรแกรมสนทนา หรือห้องสนทนา ระยะหลังๆ มันถูกเรียกว่าเป็นภาษาวิบัติในหมู่คนรุ่นใหม่ด้วยกันเอง และรวมไปถึงถูกเรียกว่า "ภาษาปัญญาอ่อน" ด้วย อันนี้เด็กๆ เขาเรียกกันเองนะครับ ซึ่งมีนัยแตกต่างกันค่อนข้างมากจากสมัยแรกๆ ที่ภาษาแบบนี้ถูกผู้ใหญ่ออกมาว่ากล่าว ลูกสาวผมใช้วิธีถามแบบสอบถามขึ้นบนอินเตอร์เน็ต ผ่านทางเว็บบอร์ดสองแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งชุมนุมของวัยรุ่นอีกเช่นกัน ผลที่ได้มาจากแบบสอบถามก็ค่อนข้างน่าสนใจเหมือนกัน โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นกำหนดระดับอายุเอาไว้ไม่เกิน 21 ปี ได้รับคำตอบมาทั้งหมด 40 คน มีอายุต่ำกว่า 12 ปีอยู่คนเดียว 12-14 ปี 6 คนที่มากที่สุดคือกลุ่ม 18-20 ปี 13 คน รองลงมาคือ 15-17 ปี และ 21 ปีขึ้นไป เป็นจำนวนเท่ากันคือ 10 คนขอสรุปรวบยอดนะครับ รูปแบบารสนทนาที่ใช้บ่อยเรียงตามลำดับคือ กระดานข่าว และโปรแกรมสนทนา สุดท้ายคือ เกมออนไลน์ ซึ่งมีไม่มากนัก จำนวนทั้งหมดนี้ ที่ไม่เคยใช้ภาษาวิบัติเลยมีเพียง 4 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คนใช้เป็นประจำกลับยิ่งน้อยกว่าคือมีแค่ 2 คน นอกนั้นหรือคนส่วนใหญ่อีก 34 คน ใช้บ้างเป็นบางครั้งโดยผู้ใช้เป็นบางครั้งส่วนมากจะใช้เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกให้หนักและชัดเจนมากขึ้นในการพิมพ์ เช่น คำว่า "ไม่" ก็จะลากเสียงให้ยาวๆ เป็น "ม่าย" เพื่อแสดงถึงอารมณ์ผิดหวัง หรือใช้เพราะพิมพ์ผิดโดยเข้าใจผิดหรือไม่ได้ตั้งใจ พวกนี้จัดเป็นพวกที่ใช้สำนวนวัยรุ่นได้ว่าใช้นิดหน่อยแบบ "ขำๆ" ไม่ใช่ตะพึดตะพือใช้ไม่เลือกกาละเทศะ น่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีกอยู่ตรงที่ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่บอกว่าเห็นด้วยการรณรงค์ให้เลิกใช้ภาษาวิบัติอย่างจริงจัง และคงต้องเน้นย้ำด้วยครับว่ากระดานข่าวสองแห่งที่ใช้เป็นแหล่งเก็บข้อมูแบบสอบถามนั้น เป็นกระดานข่าวเว็บเด็กๆ ที่สนใจในเรื่องการ์ตูน เกม อะนิเมะ มังกะ ชนิดที่ผู้ใหญ่คงไม่แวะเวียนเข้าไปเกะกะ ยกเว้นผู้ใหญ่อย่างผม ที่จริงมีเว็บไซต์หลายเว็บอยู่เหมือนกันที่ผมเข้าเป็นประจำและสังเกตเห็นการต่อต้านภาษาวิบัติในโลกออนไลน์อย่างชัดเจน ทั้งโดยเว็บมาสเตอร์และสมาชิก ซึ่งไม่ใช่คนแก่งั่กอนุรักษ์ลูกเดียวอะไรเทือกนั้น มันอาจจะสะท้อนปรากฏการณ์อะไรบางอย่างในโลกของภาษาที่มีความผันแปรเปลี่ยนแปลงไปได้ อะไรที่คนไม่ยอมรับก็ไม่สามารถคงทนอยู่ได้ในที่สุด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น