แสงสว่างในตัวหิ่งห้อยนั้นเกิดจาก สารลูซิเฟอริน (Luciferin) ไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีสารอีก
ตัวหนึ่งคือ ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้ ได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดย
ตรง แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะเป็นแสงที่ปราศจากความร้อน ซึ่งเราสามารถจับดูได้ และปริมาณแสงสว่าง
ที่เกิดขึ้นก็นับว่าน้อยมาก เพียงหนึ่งในพันของแสงจากแสงเทียนไขธรรมดา
แสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวับวาบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหาย
ใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออกแสงจะดับ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด หิ้งห้อยจะใช้แสงของมันในการล่อ
เพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อของมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น